วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กศน.ตำบลบ้านซ่ง



ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
        ประวัติความเป็นมาของตำบลบ้านซ่งเดิมชาวบ้านตำบลบ้านซ่ง มีรากฐานมาจากประเทศลาว    เมืองสะหวันณะเขต หลังจากบ้านเมืองเกิดสงคราม มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก  ชาวบ้านส่วนหนึ่งจึงพากันอพยพ มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านตำบลบ้านซ่ง  และชาวบ้านส่วนใหญ่ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่ตำบลบ้านซ่งนั้น  เป็นชนเผ่ากะเลิง ยังมีการแต่งตัวที่เป็นเอกลักษณ์คือ  ชุดสีดำ แถบแดง มีประเพณีที่สืบทอดกันมาที่เป็นเอกลักษณ์ คือ การฟ้อนผีหมอเหย้า และซึ่งลักษณะประเทศส่วนใหญ่ในตำบลบ้านซ่งเป็นโคก  เป็นป่า ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อว่า  บ้านซ่ง”  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
          ประวัติบ้านโพธิ์ศรี หมู่ ๔
บ้านโพธิ์ศรี หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านซ่ง เป็นชนเชื้อสายเผ่ากะเลิง  ได้ย้ายถิ่นฐานอพยพมาจากแขวงสะหวันณะเขต  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ประมาณ ๔๐๐ ปีมาแล้ว โดยการนำของหลวงพ่อละคำ  ส่วนชื่อของหมู่บ้านมาจากที่แต่เดิมมีต้นโพธิ์ขนาดใหย่กลางหมู่บ้านและมีหนองน้ำขนาดใหญ่ท้ายหมู่บ้าน  มีชาวบ้านเรียกตามกันมาช้านานมา บึงภูฮี”  ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น บึงโพธิ์ศรี”  และเป็นที่มาของหมู่บ้าน  ปัจจุบันมีผู้ใหญ่บ้านรวมทั้งสิ้น ๘ คน  โดยปัจจุบันผู้นำทางการปกครองคือ นายคำปอน  รูปเหมาะ  กำนันตำบลบ้านซ่ง
รากเหง้าชาวกะเลิง
บรรพบุรุษเป็นชนเชื้อสายกะเลิงซึ่งเป็นชาวกลุ่มน้อยที่เป็นชาติพันธุ์ ทางภาษากลุ่มหนึ่ง   เช่นเดียวกับชนกลุ่มญ้อโส้   ผู้ไทยและเวียดนาม  ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร  กะเลิงมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง  ชนกลุ่มกะเลิงได้อพยพมาตั้งแหล่งอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ  ๑๐๐  ปีเศษ  ตั้งแต่มีการปราบเจ้าอนุวงศ์ในรัชกาลที่  ๓  และมีการอพยพครั้งใหญ่  ในสมัยรัชกาลที่  ๕  เมื่อเกิดศึกกบฏฮ่อในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ปัจจุบันมีชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิงในประเทศไทย ที่จังหวัดนครพนม  สกลนคร  กาฬสินธุ์  มุกดาหาร วิธีการดำเนินชีวิตของชาวกะเลิง   เหมือนกับชาวอีสานทั่วไป คือ ยึดถือฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ เป็นหลักในการดำเนินชีวิต และมีคติความเชื่อถือในเรื่องผี นับถือผีมเหสักข์หลักบ้าน วิญญาณบรรพบุรุษ ผีตาแหก ผีป่า ผีเขา
สมัยก่อน นิยมสักเป็นรูปนกที่แก้มดังผญาว่า สักนกน้อยงอย แก้มตอดขี้ตาสักนกน้อยงอยแก้มจั่งงาม ปัจจุบันยังพบชายชาวกะเลิง สักลายที่ขาและตามตัวบ้าง  แต่ก็มีการสักรูปนกที่แก้ม ชายชาวกะเลิงในปัจจุบันแต่งกายเหมือนชายชาวอีสานทั่วไป หญิงชาวกะเลิงในสมัยก่อนแต่งกายโดยนุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่มีเชิง ไม่สวมเสื้อ  ใช้แพรเบี่ยงโต่งในเวลามีงานปกตินิยมเปลือยหน้าอกซึ่งเรียกว่า  ปละนม  ไว้ผมยาว  และผมมวยสวมกำไลข้อมือ  ข้อเท้า  และตุ้มหูเงิน  นิยมทัดดอกไม้  ประเทืองผมด้วยขมิ้น  ทาหน้าด้วยหัวกลอยและข้าวสาร  บางคนนิยมมาถูฟันให้ดำงาม  สวมรองเท้าที่ประดิษฐ์เองใช้วัสดุในท้องถิ่น  เช่น  ไม้  หนังสัตว์  กาบหมาก
ภาษากะเลิงจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท    เช่นเดียวกับภาษาผู้ไทย    ภาษากะเลิงไม่มี  ฟ  ใช้  พ  แทน เช่น ไพพ้า  (ไฟฟ้า)  ไม่มี  ฝ  ใช้  ผ  แทน  เช่น  ผาด  (ฝาด)  ไม่มี  ร  ใช้  ล  แทน  ฮ  แทน  เช่น  ลำ  (รำ)  ฮกเฮื้อ  (รกเรื้อ)  ไม่มี  ช  ใช้ ซ  แทน  เช่น  ซม  (ชม)  มีอักษรควบใช้เป็นบางคำ  เช่น  ขว้าม  (ข้าม)  สวาบ  (สวบ)  กินอย่างมูมมาม  


ผู้นำชุมชน ในตำบลบ้านซ่ง

หมู่
ชื่อบ้าน
ประชากร
ชื่อผู้ใหญ่บ้าน
ชาย
หญิง
หมู่ที่ ๑
บ้านนาสีนวล
P
-
นายชาติชาย  อาจหาญ
หมู่ที่ ๒
บ้านซ่ง
P
-
นายสมหมาย  ชาวนา
หมู่ที่ ๓
บ้านโนนสังข์ศรี
P
-
นายประมวน  บุสภา
หมู่ที่ ๔
บ้านโพธิ์ศรี
P
-
นายคำปอน  รูปเหมาะ
หมู่ที่ ๕
บ้านโนนก่อ
P
-
นายสมจิตร  ศรีหาวงค์
หมู่ที่ ๖
บ้านซ่ง
P
-
นายใส  สุภาพันธ์
หมู่ที่ ๗
บ้านโนนสังข์ศรี
P
-
นายถ่าย  ขำคม
รวม
-





ศาสนสถาน


ที่
ประเภท

ชื่อศาสนสถาน

ชื่อเจ้าอาวาส / สำนักสงฆ์
วัด
สำนักสงฆ์
.
-
วัดศรีวิรัญญา
พระครูประภาต  ธรรมโกศล
.
-
 วัดจุฬาวิเวก ,วัดสามัคคีธรรม
ครูบาพร,พระครูเสถียร กันทโร
.
-
วัดศรีโพธิ์ไทร
พระเสนอ  กิตติวันโณ
 วัดศรีสะอาดสงคราม ,        สำนักสงฆ์ป่าช้าบ้านโพธิ์ศรี
พระอธิการคณิต วชิรณาโณ,          ครูบาพรชัย
.
-
วัดสว่างเวฬุวัน
พระอธิการคูณ  กิตติคุโณ
.
-
-
-
-
๗.
-
-
-
-

F  ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
ตำบลบ้านซ่ง มีเนื้อที่ประมาณ  ๑๙,๙๙๖  ไร่ หรือประมาณ  ๓๑ตร.กม. ตั้งอยู่ทางทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอคำชะอี และตั้งอยู่ห่างจากอำเภอคำชะอี ระยะทาง ๒  กิโลเมตร  และอยู่ห่างจากจังหวัดมุกดาหาร ระยะทาง  ๓๓  กิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้(รูปที่  ๑)

F  ภูมิประเทศ
          สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นพื้นที่ลอนลูกคลื่นสลับกับพื้นที่ราบลุ่ม ทางทิศตะวันตกมีภูเขาลาดเอียงไปทางทิศตะวันออก

F ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของของตำบลบ้านซ่งจัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ซึ่ง
แบ่งได้ ๓ฤดู คือ ฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเลและมหาสมุทร ทำให้มีอากาศชุ่มชื้นและฝนตกชุกและยังได้รับอิทธิพลความชุ่มชื้นแถบบริเวณลุ่มน้ำโขงอีกด้วย ส่วนฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งมา สำหรับฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนซึ่งจะมีอากาศร้อนและอบอ้าว

F  เขตการปกครอง
          อาณาเขตทางทิศเหนือ        ติดต่อกับ  ตำบลหนองเอี่ยน อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
          อาณาเขตทางทิศใต้            ติดต่อกับ  อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
          อาณาเขตทางทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  ตำบลเหล่าสร้างถ่อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
          อาณาเขตทางทิศตะวันตก    ติดต่อกับ  ตำบลน้ำเที่ยง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
    ๒. สภาพทางสังคม – ประชากร
F  จำนวนหมู่บ้าน   มีทั้งหมด  ๗   หมู่บ้าน   รวม  ๙๕๒ครัวเรือน  ดังนี้
๑.      บ้านนาสีนวล         หมู่ที่  ๑จำนวนครัวเรือน  ๘๓      ครัวเรือน
๒.      บ้านซ่ง                หมู่ที่  ๒ จำนวนครัวเรือน         ๒๔๙      ครัวเรือน
๓.      บ้านโนนสังข์ศรี       หมู่ที่  ๓จำนวนครัวเรือน          ๙๖       ครัวเรือน
๔.      บ้านโพธิ์ศรี            หมู่ที่  ๔จำนวนครัวเรือน          ๑๕๘      ครัวเรือน
๕.      บ้านโนนก่อ           หมู่ที่  ๕จำนวนครัวเรือน           ๗๓      ครัวเรือน
๖.      บ้านซ่ง                หมู่ที่  ๖จำนวนครัวเรือน          ๑๔๓      ครัวเรือน
๗.      บ้านโนนสังข์ศรี       หมู่ที่  ๗   จำนวนครัวเรือน๑๕๐   ครัวเรือน
F  จำนวนประชากร
          *จำนวนประชากรทั้งหมด  ๔,๑๖๑คน  แยกเป็น  ชาย  ๒,๐๖๖คน  หญิง  ๒,๐๙๕คน


หมู่บ้าน
จำนวนประชากร(คน)
รวม
ชาย
หญิง
บ้านนาสีนวล  หมู่ที่  ๑
บ้านซ่ง  หมู่ที่ ๒
บ้านโนนสังข์ศรี  หมู่ที่ ๓
บ้านโพธิ์ศรี  หมู่ที่ ๔
บ้านโนนก่อ  หมู่ที่ ๕
บ้านซ่ง  หมู่ที่ ๖
บ้านโนนสังข์ศรี  หมู่ที่ ๗
๑๙๑
๔๑๒
๒๔๐
๓๗๙
๑๘๙
๓๐๔
๓๕๑
๑๖๕
๔๔๗
๒๓๗
๓๘๖
๑๘๖
๓๐๐
๓๗๔
๓๕๖
๘๕๙
๔๗๗
๗๖๕
๓๗๕
๖๐๔
๗๒๕
รวม
๒,๐๖๖
,๐๙๕
๔,๑๖๑